pichaya

pichaya
การสอบนำเสนอโครงงาน (Project Day) ในรูปแบบนิทรรศการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยนักศึกษาต้องเริ่มต้นศึกษาด้วยรายวิชาเตรียมโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ในภาคการศึกษาที่ 2 ของชั้นปีที่ 3 เมื่อสอบโครงร่างโครงงานผ่านแล้ว จึงศึกษาในรายวิชาโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 1  หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 1 ในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 และ ศึกษาโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ 2 หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ 2 ในชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2 
กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันที่  6 มีนาคม 2568 ณ อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ (ตึกหุ่นยนต์) สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หัวข้อโครงงานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือโครงงานทางวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หรือวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ต่อยอดองค์ความรู้ รวมถึงแก้ปัญหาโจทย์จากหน่วยงานภายนอก รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น นำโจทย์จากภาคเอกชนผ่านทางอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน หรือปัญหาจากเทคโนโลยีคอมพิวตอร์หรือปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบัน หรือโจทย์งานจากองค์กรที่มีความร่วมมือระหว่างกัน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานเป็นผู้ให้คำปรึกษา และอาจารย์ประจำสาขาวิชาฯ ผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการสอบ ตั้งคำถาม ให้คำแนะนำ ทำให้เกิดการค้นคว้า ทบทวน และนำข้อเสนอแนะ มาปรับปรุง ทำให้นักศึกษาเกิดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเสนอโครงงาน เป็นการฝึกทักษะการนำเสนอ การโต้ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับฟังผู้อื่น ผ่านกิจกรรมนิทรรศการ
หัวข้อโครงงาน ภาคการศึกษาที่ 2/2567
  • AI virtual companion box
  • navigation aid for the visually impaired
  • Adding a Visible Watermark to a Frontal Face Image of a Person
  • Abbey Health Buddy application
  • GoRun WebApplication
  • PSU ALERTS
  • Computer Hardware Laboratory Website
  • Development of a Low-Code Web Application for Managing the Tutoring School System
  • Agri Around Us: Local agri mart
  • Space renting service Software
  • Smart locker
  • Face Recognition and Timestamp in Workspace
  • Smart Greenhouse system
  • Automation applies IoT to economic crops
  • Pig feeder with IoT system
  • Application to practice reading aloud for elementary school students
  • Memory Paging Management for ReactOS
  • Dental AI chatbot for Children's dental care
  • Legal Assistance Chatbot Case Study: Thailand’s Illegal Acts Regarding Car Leasing
  • Robotic Rover Software Based on ROS2
 
481445290 9747443771933490 2623019279761039900 n
 
a1
 
a2
a4
a5
a7
a8
a9
a10
a11
a12
a13
a14
a16
a17
a18
a19
a20a21
a26a27a29
a24

ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์และคณะทำงานได้รับรางวัลเหรียญเงิน ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม Thailand New Gen Inventors Award (I-New Gen Award 2025) ในงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี 2568  จัดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2-6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ 

หัวข้อสิงประดิษฐ์ที่ได้รับรางวัล คือ เรื่อง "การพัฒนาเบาะรองนอนจากฟองน้ำยางธรรมชาติร่วมกับเจลยูริเทนเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ"

คณะทำงาน

  1. รองศาสตราจารย์ ดร.นิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์
  2. ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. นางสาวกิ่งกาญจน์ เปี่ยมธรรมโรจน์
  4. นางสาวอามาลย์ มาอุมา
  5. นางสาวกัลยารัตน์ รัตนชล
  6. นางสาวซ่าฟีนา ดารานีตาแล

โดยผู้ได้รับรางวัลได้เข้ารับมอบกระเช้าแสดงความยินดีจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในที่ประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลับ (กบม.) เมื่อวันที่ มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 210 สำนักงานอธิการบดี 

งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025) ภายใต้แนวคิด “สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมไทย: ความท้าทายของประเทศ” จัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ ณ Event Hall 101-104  ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา 

โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award (I - New Gen Award)"ขึ้น เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคตตาม เป้าหมายในการสร้าง“เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer” ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคตและยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ

ประเภทการประกวด

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ระดับอาชีวศึกษา(ประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง)

3. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง  กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพ (Health Tech) ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัย การดูแลรักษา
การป้องกันและบำบัด การสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ
เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้ทุพพลภาพ และประชาชนทุกช่วงวัย รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

ความแปลกใหม่ : เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่น
น่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน     

ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความ  คงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

ความยากง่าย: โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้นอย่างเดียวกันหรือในวิทยาการเดียวกันและพื้นความรู้ความสามารถของ
ผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน   

ความเป็นที่ต้องการ :เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญหรือเป็นผลงานที่สอดคล้องกับความจำเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่นหรือสาธารณะ   

การใช้ประโยชน์ :เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต พาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้นมีระบบการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อนและ/หรือเป็นผลงาน
สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างหรือสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มาก
ในอนาคต

 

ดร.ปภณ ยงพิศาลภพ ผู้อำนวยการศูนย์อาลีบาบาคลาวด์อาคาเดมี่ ประเทศไทย และ Training Advisor for Alibaba Cloud International บรรยายออนไลน์ในหัวข้อ “Why Move to Alibaba Cloud” ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 ในชุดวิชา Software-defined Architecture Engineer ทางซูมออนไลน์ในวันที่  3 มีนาคม พ.ศ.  2568 เวลา 9.30-11.00 น.

 

เมื่อวันที่ 22-27 มกราคม 2568 ชุมนุมการออกแบบและวิศวกรรมยานยนต์ (ทีมลูกพระบิดา) ได้เข้าร่วมการแข่งขัน “19th TSAE Auto Challenge 2025 Student Formula” จัดโดย สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย (สวยท.) หรือ Society of Automotive Engineers Thailand (TSAE) ณ สนามแข่งรถปทุมธานีสปีดเวย์ จ.ปทุมธานี โดยมีคุณภัทรพล ลิ้มภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานมอบรางวัลและปิดการแข่งขัน 
ทีมลูกพระบิดา ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำทีมโดยผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผศ.ดร.กุสุมาลย์ เฉลิมยานนท์ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้รับรางวัลที่ 2 ในการแข่งขันประเภทรถไฟฟ้า หรือ Electrical Vehicle (EV) ของนักศึกษา ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และยังได้รับรางวัลที่ 3 ในด้านการออกแบบ (Design)
ทีมลูกพระบิดาได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน “17th TSAE Auto Challenge 2023” และสามารถคว้าอันดับที่ 10 จากทั้งหมด 69 ทีม ในการแข่งขัน 2023 Formula SAE Japan (FSAEJ)-Monozukuri Design Competition ที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งถือเป็นความสาเร็จที่น่าภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นอันดับที่ดีที่สุดของทีมจากประเทศไทยที่เคยเข้าร่วมการแข่งขัน แสดงให้เห็นถึงความสามารถ และความทุ่มเทของทีมอย่างแท้จริง  หลังจากนั้น ทีมลูกพระบิดาได้พัฒนารถสูตรไฟฟ้า (Formula EV) เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยานยนต์ และเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่กาลังเป็นที่ต้องการในตลาด เพิ่มพูนทักษะด้านระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า และระบบจัดการพลังงาน
การแข่งขันในครั้งนี้เสริมสร้างประสบการณ์เพื่อเตรียมความพร้อมนักศึกษาในการแข่งขัน Formula Student EV ครั้งต่อไปในการแข่งขัน 2025 Formula SAE Japan (FSAEJ) – Monozukuri Design Competition กันยายน 2568 ณ ประเทศญี่ปุ่น

TSAE Auto Challenge 2025    เป็นกิจกรรมภายใต้กองทุนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีเพื่อการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้าน ยานยนต์ 

ev6

e12

ev3  ev4

ev5

ev7

ev8

ev9

ev10

ev11

ev1

ev2

 

รองศาสตราจารย์ ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ และคุณอนุชา รัตนะ เป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร"ยกระดับทักษะทางวิศวกรรมเชิงปฏิบัติการ (Engineering workshop skill) " สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ห้องเรียนพิเศษ AMP จำนวน 66 คน จากโรงเรียนปากพะยูนพิทยาคาร วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ห้องปฏิบัติการฮาร์ดแวร์ ของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งกิจกรรมนี้จัดโดยกลุ่มงานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 

476772638 1153198110140170 4514104462796953761 n

ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส และผศ.ดร.สหพงศ์ สมวงค์ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินผลงานโครงงานนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโครงการนิทรรศการนำเสนอโครงงานนักเรียนของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง ในวันที่ 12-13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง จังหวัดตรัง

660e3c0f e9b8 4133 bc83 d1c5681e80cf

8b881f68 88d2 4fed af9c fbdf892805a3

441590b4 0712 44e5 8040 7949a22f4d8c

 477791717 10164519986698132 4623699518895648973 n

j2

j3

j4

j6

รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะเป็นวิทยากรบรรยายออนไลน์ให้กับสมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพในการประชุมประจำเดือนครั้งที่ 14 ในหัวข้อ "AI  ทางการแพทย์" ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 18.30-19.30 น.

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา ภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งเป็นเจ้าภาพ จัดงานและพิธีเปิดการประชุม “การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา” ครั้งที่ 44 | Workshop on UniNet Network and Computer Application (44th WUNCA) โดยมีนายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน  ทั้งนี้ การประชุมนำเสนอองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศในการดำเนินการต่าง ๆ การจัดการข้อมูล และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 44 ภายใต้ แนวคิด “Digital Transformation for Creative Sustainability” ปรับ เปลี่ยน ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความยั่งยืน เพื่อเปิดประสบการณ์ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพ สานต่อกิจกรรมการขับเคลื่อนอนาคตสถาบันอุดมศึกษาไทยสู่ความยั่งยืนกว่า 80 สถาบันร่วมพัฒนาเครือข่ายสารสนเทศ ในระหว่างวันที่ 5-7 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การจัดการประชุมในครั้งนี้ มีกิจกรรมตลอดทั้ง 3 วัน โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ การบรรยาย การเสวนาในบริบทของมหาวิทยาลัย และการประชุมและอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยมี Speakers มากมาย ทั้งผู้บริหารระดับสูงของประเทศไทย ผู้บริหารองค์กรเอกชนชั้นนำ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญ ร่วมกันถกประเด็นที่สำคัญของการทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสนับสนุนความร่วมมือของมหาวิทยาลัยไทย หน่วยภาครัฐและภาคเอกชน เช่น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)  บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โครงการ GDCC eOffice บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ การประชุมครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนในการจัดบรรยายเทรนด์ในด้านเทคโนโลยีจากบริษัทชั้นนำต่างๆ อาทิ บริษัท Cisco Thailand, Microsoft, HPE, Oracle, VRCOMM, AIS บริษัท Splunk Inc. บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) Coursera, บริษัท Fortinet Thailand บริษัท Cohesity Thailand, Palo Alto Networks Thailand, Ruijie Enterprise Thailand เป็นต้น

กิจกรรม Workshop เสริมทักษะด้านระบบสารสนเทศ รวมไปถึงแชร์ประสบการณ์ของ Speakers ผู้เชี่ยวชาญตัวแทนจากหลากหมายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 9 หัวข้อหลัก คือ Emerging Technologies, IT Infrastructure Administration, Cloud Computing and Services, Information Security, IT Application Development and Administration, IT Management / IT-Internet Governance / IT Ethic, Open and Sharing Data and Data Standard toward Open Science, Teaching Computer Communication Networks, Tele-Education/ E-Learning, Tele-Medicine และ IT in Library รวมกว่า 34 Class สำหรับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ วิศวกรเครือข่าย และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ในครั้งนี้ รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ และดร.ธนาธิป ลิ่มนา เข้าร่วมงาน WUNCA ครั้งที่ 44 โดยได้ร่วมเป็นวิทยากรอภิปรายในการเสวนาและจัดการอบรมตามกำหนดการดังนี้

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 13.00-15.00 น. ดร.ธนาธิป ลิ่มนา เป็นวิทยากรจัดการอบรมและบรรยายใน Workshop หัวข้อ SLA Infrastructure Dashboard ซึ่งเป็นการแนะนำการสร้าง SLA Dashboard อย่างง่าย สำหรับการเฝ้าระวังระบบโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้าง Dashboard สำหรับตรวจสอบ SLA ของอุปกรณ์หรือกลุ่มอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละบริบทของสถาบันได้ โดยใช้เครื่องมือ Open Source และภาษา Python

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 15.00-16.00 น. รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ ได้ร่วมอภิปรายในการเสวนา ในหัวข้อ  Teaching Computer Communication Networks: Teaching Computer Communication Networks in the Presence of SDN, CDNs and LLMs  โดยเป็นวิทยากรร่วมกับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดการเรียนการสอน Computer Networks และ Cyber Security ในยุคของ Software-Defined Networking (SDN), Content Delivery Networks (CDNs) และ Large Language Models (LLMs) มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญหลายด้าน โดยการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมเครือข่าย: SDN มีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของเครือข่ายให้เป็นแบบโปรแกรมได้ ซึ่งช่วยให้การบริหารจัดการเครือข่ายมีความยืดหยุ่นและง่ายขึ้น ช่วยลดความซับซ้อนในการควบคุมเครือข่าย

476074314 1150718656748037 1557332860361639776 n

476147468 1150702316749671 4720140826609041886 n

476367074 9162393970464035 6720470425215116923 n

476336456 1153664943120075 7307025939187151024 n

ลิงค์งาน  WUNCA 

ผศ.ดร.สหพงศ์ สมวงค์  อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับเกียรติเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ให้คำแนะนำเค้าโครง โครงงานวิทยาศาสตร์ ด้านวิศวกรรม ระดับ มัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 15 ผลงาน ของนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ตรัง  ในรูปแบบออนไลน์ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
476212959 10164505425498132 2125931114264342358 n
476246198 10164505425403132 4753871923856598498 n
 
476163023 10164505425263132 2616737825243583618 n
476235259 10164505425553132 7378044142051900438 n
476610046 10164505425618132 6814796325339058569 n
476615791 10164505425828132 458355660726315329 n
 

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์จัดงาน BarCamp Songkhla ครั้งที่ 9  เพื่อเปิดเวทีให้กับนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรและบุคคลภายนอก นักพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีความสนใจทางด้านคอมพิวเตอร์ ร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและร่วมแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พร้อมรับข้อมูลวิทยาการใหม่ ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2567  ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น. ณ ห้องประชุม  EILA สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ หรือตึก Learning Resources Center (LRC)  โดยเปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 100 คน 

งาน BarCamp มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนนักพัฒนาในภาคใต้  โดยเป็น งานสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ เรื่องราวต่างๆ ที่ไม่มีการกำหนดหัวข้อล่วงหน้า แต่จะให้ทุกคนเตรียมหัวข้อมา ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อทางด้านเทคโนโลยี หรือด้านอื่นๆ และจะลงคะแนนเลือกหัวข้อที่ต้องการฟังภายในงาน โดยเป็นการจัดงานในลักษณะ unconference หรือปัจจุบันใช้คำว่า openspace งาน Barcamp จัดโดยทีมงานนักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

งาน Barcamp ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและบริษัทคอมพิวเตอร์หลายบริษัทในภาคใต้และกรุงเทพฯ ดังนี้
  • บริษัท อิมพอร์ต สตาร์ จำกัด
  • บริษัท บนเมฆ จำกัด
  • บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
  • บริษัท บิตคับ ออนไลน์ จํากัด
  • บริษัท Tailor Solutions
  • บริษัท My Order จํากัด
  • บริษัท ที.ที. ซอฟต์แวร์ โซลูชั่น จำกัด
  • บริษัท CONTRIBUTIONDAO HOLDING PTE. LTD.
  • สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • R202 LAB
  • PUPA
  s1 474477956 1019662573524252 398516256383340935 n
วันเวลาและสถานที่จัดงาน:

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 9.00 น. - 17.30 น.
ณ อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ฯ (LRC) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชั้น 8

 

หัวข้อบรรยายและกำหนดการ

  475514588 1139002378229422 1397680309889379447 n 475385113 1139002734896053 1923446094151658684 n

ภาพบรรยากาศของงาน

474902058 10220924556062510 8682259888647282682 n

   s4 s2

 s5 s12

s13 s18

s17 s15s19 s26 

 475974388 10161405796863787 2862829382424866140 n

s8

475806547 10229300450003990 5067878324790741645 n

475498504 10161405995958787 4426035328130299398 n

475647001 10161405994658787 8096032869266925528 n

475749921 10161406024418787 4634481853489345187 n

 475695721 10161405922328787 6612551714555092916 n

475749528 10161405994608787 4070579790696262582 n

s25 s24

475676658 10161405994453787 944186159323983482 n    

s9

s14

s21

 s20

s3

ติดตามข่าวสารได้ที่:

Website: https://barcampsongkhla.org/
Facebook: Barcamp Songkhla
Instagram: barcampsk

Page 3 of 11
Go to top