pichaya

สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) หน่วยงานให้ทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยจัดการแข่งขันพัฒนทโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (25th National Software Contest: NSC 2023) ระดับภูมิภาค (ภาคใต้) ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 เวบา 8.00-16.00 น.
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ บริษัท โตโยต้า ทูโช (Toyota Tsusho) เน็กซ์ตี อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETH) พร้อมด้วยบริษัท โตโยต้า ทูโช เด็นโซ่ อิเล็คทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (TDET) ร่วมงานแถลงข่าว โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย หลักสูตร “อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะสําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” พร้อมด้วยพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน ซึ่งจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.อ. ตั้งแต่เวลา 09.30 – 12.00 น.
ผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินท์ และ Mr. Yasushi Takabayashi ประธานกรรมการผู้จัดการและซีอีโอ NETH ร่วมลงนาม MOU พร้อมด้วย Mr. Hiroshi Nakamura ซีอีโอ TDET คุณสุรเชษฐ์ ชุมพล ผู้จัดการทั่วไปแผนกพัฒนาซอฟต์แวร์ NETH โดยมี รศ.ดร.ณัฎฐา จินดาเพ็ชร์ หัวหน้าโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะสําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” และคุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโส NETH ร่วมในพิธีและนำเสนอโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะสําหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า” เพื่อเพื่อผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะที่มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง การวิเคราะห์ และประยุกต์ได้อย่างเชี่ยวชาญ ให้แก่บุคลากรของ NETH และ TDET นักศึกษาและผู้สนใจเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อีกทั้งรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง และมีส่วนช่วยในการสร้างเสริมศักยภาพของบุคลากรของบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะอย่างเป็นระบบ ให้พร้อมรองรับต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในอนาคตอันใกล้ โดยทางคณะฯ ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจาก NETH และ TDET ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ในรถยนต์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ในการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาด้านยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อสร้างวิศวกร นักวิจัย และนวัตวกรรมรองรับอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ ประกอบกับทางคณะฯ มีศูนย์พัฒนายานยนต์ไฟฟ้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยเน้นการสร้างศูนย์เรียนรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภาคการศึกษาไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ พัฒนาวิศวกรผ่านการสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติจริง และจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง อีกทั้งยังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างระบบนิเวศน์ธุรกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและขยายผลสู่ตลาดต่างประเทศ โดยมุ่งหวังการได้ความรู้ด้านการวิเคราะห์ และประยุกต์ได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยเน้น Model Based Design (MBD), การพัฒนาโมเดลซอฟต์แวร์ด้วย UML (Unified Modeling Language), การออกแบบระบบสมองกลฝังตัว การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์วิทัศน์ ระบบ AI ความรู้ด้านระบบขับเคลื่อนทางไฟฟ้าและควบคุมยานยนต์ ระบบต้นกำลังไฟฟ้า วงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ระบบควบคุมแบตเตอรี่ (Battery Management System) ระบบสมองกล (Electronic Control Unit) และระบบสื่อสารในยานยนต์สมัยใหม่
โดยในครั้งนี้ บริษัท โตโยต้า ทูโช (Toyota Tsusho) เน็กซ์ตี อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETH) ได้มอบทุนสนับสนุนโครงงาน 5000 บาท ทุนการศึกษา 14,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร NETH Career Identity Program (Embedded System and Automotive Software Development Skill Cultivation) จากโครงการโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายศุภณัฐ ขจรเจริญกุล และ นายจตุพร วัฒนสิน
และคณะผู้บริหาร บริษัท โตโยต้า ทูโช (Toyota Tsusho) เน็กซ์ตี อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETH) และบริษัท โตโยต้า ทูโช เด็นโซ่ อิเล็คทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (TDET) ได้เยี่ยมชมนิทรรศการโครงงานนักศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ในวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมลงนามความร่วมมือกับบริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด (SCI) โดยมี ผศ.ดร.นิคม สุวรรณวร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย นายมาโมรุ ชิโยโนบุ กรรมการผู้จัดการ SCI และผศ.ดร.นิวัติ แก้วประดับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานในพิธีพร้อมร่วมลงนามความร่วมมือ ณ ห้องประชุมดงยาง 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาหลักสูตรร่วมกันในโครงการ “Hi-FI อุดมศึกษาเพื่ออุตสาหกรรม” โครงการนักศึกษาฝึกงาน นักศึกษาสหกิจศึกษา โครงการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (Work integrated Learning, WiL) ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการพัฒนาร่วมกับ SCI ผ่านโครงการ Hi-FI ที่จะสามารถนำไปใช้งานในสายการผลิตของ SCI ได้ต่อไป ในการนี้ นายพร้อมพงศ์ แกล้วกล้า พนักงานของ SCI จะเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในโครงการ Hi-FI อุดมศึกษาเพื่ออุตสาหกรรม
ในการนี้ผู้บริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้นำผู้บริหาร บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์อุตสาหกรรม จำกัด (SCI) และบริษัท มิตซูบิบิชิ อิเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการสาขาวิชาต่าง ๆ รวมถึงห้องปฏิบัติการสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา คอยให้แนะนำข้อมูล
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดกิจกรรมปัจฉิมนิเทศให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 13 มีนาคม 2566 เวลา 13.00- 15.40 น. โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. ปัจฉิมนิเทศโดยคณาจารย์สาขาวิชา
2. มอบรางวัลโครงงานยอดนิยม
3. คุณโกสินทร์ คุณโกสินทร์ พัตรานนท์ วิศวกรอาวุโส (Senior Engineer) จาก Technical Training Group, Software Development Department, Toyota Tsusho Nexty Electronics (Thailand) Co. Ltd.แนะนำและรับสมัครงานพร้อมทั้งให้ข้อคิดในการทำงานและการใช้ชีวิตหลังจบการศึกษา
4. คุณอลิซ อารียคุณ SAP Senior Architect, SAP Denmark ศิษย์เก่า สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แนะนำเรื่องการทำงานในยุโรป
ผศ.ดร.ธเนศ เคารพาพงศ์และดร.รัฐชัย วงศ์ธนวิจิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เดินทางไปสาธิตผลงานวิจัย การพัฒนาระบบสื่อสารด้วยระบบวิทยุด้วยซอฟต์แวร์ (Software Defined Radio: SDR) ภายใต้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (GISTDA) ในโครงการจ้างที่ปรึกษาพัฒนาต้นแบบเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของประเทศไทยในการรองรับการเป็นห้วงอวกาศแบบบูรณาการ ในระหว่างวันที่ 16-17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จังหวัดชลบุรี
คุณพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรและคณะกรรมการประเมินผลงานทางวิชาการ ในรายวิชา 30204-8503 โครงงาน 2 ระดับชั้นปวส. 2 สาขางานธุรกิจดิจิทัล ให้กับแผนกวิชาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยการอาชีพหลวงประธานราฎร์นิกร ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00-16.00 น.
ดร. อนันท์ ชกสุริวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขัน 12th PSU.WIT Technology Competition ประจำปีการศึกษา 2565 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-5 โรงเรียนมอ.วิทยานุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13 -17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้งานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมและบูรณาการองค์ความรู้เข้ากับพหุวิทยาการ เน้นให้นักเรียนมีทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในด้านวิทยาการคำนวณ การออกแบบและเทคโนโลยี และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะในการแก้ปัญหา ความกล้าแสดงอก ตลอดจนการทำงานเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพส๔้ศตวรรษแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ดร. ธนาธิป ลิ่มนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมวิจัย เดินทางไปทำวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัย Universitas Islam Negeri Sultan Syarif Kasim Riau (UNI SUSKA RIAU) ที่จังหวัด Riau ประเทศ อินโดนีเซีย ในระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยได้รับการสนับสนุนทุนจากทุุน Fundamental Fund ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ปีพ.ศ. 2565-2566
ทีมวิจัย ประกอบด้วย ผศ.ดร. ระชา เดชชาญชัยวงศ์ หัวหน้าโครงการ ศ.ดร. พีระพงศ์ ฑีฆสกุล และดร. ธนาธิป ลิ่มนา นักวิจัย และผู้ช่วยวิจัย เริ่มต้นด้วยการร่วมพิธีลงนาม MOA ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Faculty of Science and Technology, UIN SUSKA RIAU หลังจากนั้น จึงเยี่ยม Lab ของทีมวิจัยประเทศอินโดนีเซีย และจัดอบรมการใช้งานเครื่องมือในการวิจัยที่ติดตั้งในประเทศอินโดนีเซีย
นอกจากนี้ ดร. ธนาธิปยังได้ตรวจเช็คอุปกรณ์ low-cost sensor ที่พัฒนาขึ้นสำหรับติดตามฝุ่นที่ประเทศอินโดนีเซียด้วย เพื่อเตรียมรับมือ Haze in Lower SEA ในปี พ.ศ. 2566 หรือ ค.ศ. 2023 นี้
ทีมวิจัยได้นำองค์ความรู้ที่ทำงานวิจัยร่วมกันตลอด 1 ปีกว่าๆ หารือกับทางทีมวิจัยของอินโดนีเซีย และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของมลพิษทางอากาศ นอกจาก PM 2.5 แล้ว ยังมี PM 0.1 ด้วยที่มีผลต่อสุขภาพมากกว่า และทีมวิจัยยังมีแนวคิดที่จะช่วยให้ทีมวิจัยฝั่งอินโดสามารถพัฒนา low cost sensor ขึ้นมาใช้เองได้อีกด้วย นับเป็นอีกก้าวสำหรับ air pollution monitoring ในภูมิภาคนี้ และเป็นโครงการสำหรับการเฝ้าระวัง regional transboundary haze ร่วมกัน โดยเริ่มต้นการเสริมกำลังด้านวิชาการให้กับชุมชนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืนร่วมกัน เพื่อให้สามารถช่วยกันแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศระดับอาเซียนได้ในอนาคต
ทีมวิจัยได้ลงพื้นที่บริเวณ burned peatland area และพบว่าสาเหตุและสถานการณ์ไม่แตกต่างจากประเทศไทยมากนัก โดยสาเหตุเกิดจากมนุษย์เป็นหลัก และเสริมด้วยความรุนแรงของภัยแล้ง
นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ร่วมพิธีลงนาม MOU ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ Universitas of Raiu (UNRI) เพิ่มขึ้นอีก 1 ฉบับ
ผศ. ธัชชัย เอ้งฉ้วน อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การดำเนินกิจกรรมบนระบบเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา" ครั้งที่ 42 หรือ 42nd Workshop on UniNet Network and Computer Application (WUNCA 42nd) ในระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา พร้อมกันนี้ บุคลากรสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายรุ่งโรจน์ แซ่จุ้ง วิศวกร (ผู้ดูแลระบบเครือข่าย & ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการซอฟต์แวร์) และนายพิพัฒน์ พิพิธพัฒนพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ดูแลระบบ) ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวด้วยเช่นกัน
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศิษย์เก่าร่วมจัดงาน Bar Camp Songkhla ครั้งที่ 7 เพื่อสร้าง local community ที่ดีจะช่วยส่งเสริมชุมชนนักพัฒนาและอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของภาคใต้ โดยเป็นงานที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์รวมตัวกันมากที่สุดในภาคใต้ เพื่อมาแชร์ประสบการณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2566 ณ ตึก LRC ชั้น 8 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่เวลา 9.30 - 10.00 น. กิจกรรมในงาน 10.00-17.30 น.
ผู้รับผิดชอบโครงการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุธน แซ่ว่อง
การประชาสัมพันธ์:
กำหนดการ:
ตารางหัวข้อพูดคุย:
คัดเลือกโดยระบบลงคะแนนเลือกหัวข้อที่สนใจ (Voting System)
บรรยากาศในงาน:
ทีมงานและ Speakers:
Pupa and R202
สปอนเซอร์:
- บริษัท ซคูลเมท เอ็ดดูเคชั่น จำกัด
- บริษัท ที.ที.ซอฟแวร์ โซลูชั่น จำกัด
- บริษัท เทเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด
- บริษัท เน็กซ์ฮอป จำกัด(สำนักงานใหญ่)
- บริษัท บนเมฆ จำกัด
- บริษัท เปาคลาวด์ จำกัด
- บริษัท โลเร็มบอร์ด จำกัด
- บริษัท อัลกอริตี้ จำกัด
- คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ (EILA) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์