pichaya

นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผ่านเข้ารอบคัดเลือก (online) ระดับอุดมศึกษาในการแข่งขัน Thailand Cyber Top Talent 2024 โดย นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1 มีคะแนน เป็นอันดับ 1 ประเภทบุคคล และประเภททีม นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ ร่วมกับ นายสรวิศ สุขการณ์ ชื่อทีม S1EEP มีคะแนน เป็น อันดับ 3 โดยมีทีมจากผู้เข้าแข่งขันรอบคัดเลือกทั่วประเทศรวม 353 ทีม
การแข่งขัน รอบคัดเลือก จัดขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา ทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 ทีม คือ ทีม S1EEP และ ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย ผ่านรอบคัดเลือก เป็นตัวแทนภาคใต้ ระดับอุดมศึกษา เข้าไปแช่งขันรอบรอบชิงชนะเลิศ (onsite) ในวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2567 นี้
สมาชิกของทีมจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีดังนี้
- ทีม S1EEP นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ และ นายสรวิศ สุขการณ์ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 1
- ทีม คิดยากจังเลยยยยยยยยย นายเชษฐมาส ตั้งสุขสันต์ นายศุภกิตติ์ พรหมดวง และ นางสาวณัฏฐ์ธารณ์ ขวัญหวาน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
ดู Scoreboard ระดับอุดมศึกษาได้ที่นี่
หน่วยงานจัดการแข่งขัน
Thailand Cyber Top Talent 2024 จัดการแข่งขันโดย สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ร่วมกับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด โดยมุ่งหวังให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่เข้าร่วมการแข่งขันได้ เรียนรู้ พัฒนาทักษะ และประสบการณ์ เพื่อให้กลายเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และเป็นการสร้างแรงงานออกสู่ตลาดแรงงานในอนาคต อีกทั้งเป็นการช่วยเพิ่มความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ให้กับบุคคลทั่วไปมากขึ้น และผู้ที่ได้รางวัลชนะเลิศยังมีสิทธิเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันในรายการ Cyber SEA Game 2024
รูปแบบและกติกาการแข่งขัน
การแข่งขันจะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับมัธยมศึกษา (Junior)
ระดับอุดมศึกษา (Senior)
ระดับประชาชนทั่วไป (Open)
รูปแบบการแข่งขัน แบ่งเป็น 2 รอบ
- รอบที่ 1 รอบคัดเลือก เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์
- รอบที่ 2 รอบชิงชนะเลิศ เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Attack the virtual World คือผู้เข้าแข่งขันต้องหาคำตอบจากเครื่องแม่ข่าย เครื่องผู้ใช้งาน และอุปกรณ์เครือข่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบจำลอง ด้วยการโจมตีจากภายนอก และต้องหาคำตอบจากร่องลอยในเครื่องแม่ข่ายที่ถูกโจมตี
รายละเอียดกติกาการแข่งขัน
รอบคัดเลือก
เป็นการแข่ง Capture the Flag ในรูปแบบ Jeopardy คือผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกโจทย์ในหัวข้อใดทำก่อนก็ได้ คะแนนของโจทย์แต่ละหัวข้อจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของโจทย์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยมีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
➢ Web Application
➢ Digital Forensic
➢ Reverse Engineering & Pwnable
➢ Network Security
➢ Mobile Security
➢ Programming
➢ Cryptography
เกณฑ์การคัดเลือก
คัดเลือกจากทีมที่ทำคะแนนได้สูงสุดและส่งคำตอบเร็วที่สุดจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป
ระดับมัธยมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
ระดับอุดมศึกษา ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ 10 ทีม
โดยกำหนดโควต้าในในการเข้ารอบแบ่งตามภูมิภาคไว้ดังนี้
➢ กทม. 2 ทีม
➢ ภาคกลางและภาคตะวันออกยกเว้น กทม. 2 ทีม
➢ ภาคเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ทีม
➢ ภาคใต้ 2 ทีม
ระดับประชาชนทั่วไปไม่กำหนดภูมิภาค จำนวน 10 ทีม
รวมจำนวนทีมทั้งทั้ง 3 ระดับ ที่จะผ่านเข้ารอบทั้งสิ้น 30 ทีม
โดยรอบชิงชนะเลิศ จะจัดขึ้นใน
วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น. (รวมเวลา 7 ชั่วโมง)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายในหัวข้อ Machine-Learning-Based System Implementation in Digital Transformation ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 13.30 - 14.40 น. ณ ห้องประชุมดงยาง 1 และ Zoom Online โดยการบรรยายนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวิชา 241-353 ชุดวิชาระบบนิเวศปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Ecosystem Module) ซึ่งมีนักศึกษาจากทั้ง 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้
นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร. โกสินทร์ จำนงไทย ยังได้เป็นเป็นประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หัวข้อ Advancements in Digital Pathology for Multi-tissue Histological Images ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นายอรรถสุนทร ไตรสุวรรณ ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2567 เวลา 14.45 - 16.30 น. ณ ห้องประชุมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ R101 อีกด้วย
ในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567 นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program โดยเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ณ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่น และนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567
ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ Prof. Dr. Thi Thi Zin เป็นผู้ดูแลโครงการ JST Sakura Science Program ของ Miyazaki University
รายนามนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่เข้าร่วมโครงการ
- ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
- ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ
คณะเดินทางจากประเทศไทย
ภาพการนำเสนอผลงาน ณ Miyazaki University
ภาพในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28 สิงหาคม 2567
นายเตาฟีก หลำสุบ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาเอก นำเสนอในหัวข้อ A Scalable Architecture for Improving Adaptive Bitrate Streaming Services
นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาโท นำเสนอในหัวข้อ Time-Driven Cost Estimation Learning Model
ทัศนศึกษา วันที่ 1 กันยายน 2567
เยี่ยมชมน้ำตกและศาลเจ้า รับประทานอาหาร
เยี่ยมชมฟาร์มปศุสัตว์ ที่ดูแลด้วยระบบ IoT วันที่ 2 กันยายน 2567
ชมระบบฟาร์มและงานวิจัยเกี่ยวกับ image processing ที่ใช้กับการบริการจัดการฟาร์ม
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น วันที่ 2 กันยายน 2567
นำเสนอโปสเตอร์ในกิจกรรมของ Sakura Science Program วันที่ 2 กันยายน 2567
รายชื่อสมาชิกทีม AI Rebar Auto Vision
Prof. Dr. Thi Thi Zin จาก Information and Communication Technology Program, Faculty of Engineering, Miyazaki University เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประชุมชี้แจงเรื่องนักศึกษาเข้าร่วมโครงการ JST Sakura Science Program ณ ห้อง 265 อาคาร 2 คณะทรัพยากรธรรมชาติ ใน วันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งจะมีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วม 4 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาเอก 2 คน และ ระดับปริญญาโท 2 คน จากคณะทรัพยากรธรรมชาติและคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร.ชุติมา ตันติกิตติ จากสาขาวิชาวาริชศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ คณะทรัพยากรธรรมชาติ เป็นผู้ประสานงานหลัก
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่เข้าร่วมโครงการ Japan-Asia Youth Exchange Program in Science หรือ JST (Japan Science and Technology) Sakura Science Program จะเดินทางไปนำเสนอผลงานทางวิชาการ ในงานประชุมทางวิชาการ The 16th International Conference Genetic and Evolutionary Computing (ICGEC-2024) ในวันที่ 28-29 สิงหาคม 2567
ในงานนี้มีนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 4 คน โดยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาเ
และเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการที่ Miyazaki University ประเทศญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม 2567 - 3 กันยายน 2567
- ระดับปริญญาโท นายธีร์ธวัช สวาสดิ์ธรรม
- ระดับปริญญาเอก นายเตาฟีก หลำสุบ
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ร่วมร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเป็นหน่วยประสานงานระดับภูมิภาค จัดการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 26 (The 26th National Software Contest) หรือที่รู้จักกันในนาม NSC 2024 ภาคใต้ รอบ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ที่ลานใต้ตึกหุ่นยนต์
โดยมีนักเรียนและนักศึกษาจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วภาคใต้ เข้าร่วมการแข่งขัน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับ นักเรียน นิสิตและนักศึกษา
2. เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็น รากฐาน ที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต
3. เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการ พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป
4. เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความ สามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม
5. เพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
เป้าหมาย
1. สร้างเวทีการแข่งขันด้านซอฟต์แวร์ระดับเยาวชนและระดับชาติ ตลอดจนนำผลงานไปสู่เชิงพาณิชย์และสังคมต่อไป
2. สร้างโอกาสและสนับสนุนนักพัฒนาโปรแกรมที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่จะพัฒนาไปสู่นักเขียนโปรแกรมมืออาชีพต่อไป
3. สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาและการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย
หัวข้อการแข่งขัน
ระดับนิสิต นักศึกษา
หมวด 11 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
หมวด 12 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้
หมวด 13 โปรแกรมเพื่อสุขภาพ คนพิการ และผู้สูงอายุ
หมวด 14 โปรแกรมเพื่องานการ พัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ระดับนักเรียน
หมวด 21 โปรแกรมเพื่อความบันเทิง
หมวด 22 โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะ การเรียนรู้
หมวด 23 โปรแกรมเพื่อการประยุกต์ ใช้งาน
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขันได้ที่นี่
ผศ.ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับคัดเลือกเป็นอาจารย์ตัวอย่างดีเด่น ด้านกิจการนักศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประจำปี 2566
ทั้งนี้ เนื่องจากอาจารย์มีบทบาทสำคัญในการอุทิศตนและผลักดันทั้งในด้านวิชาการและกิจกรรมนักศึกษาให้กับทีม Formula 1 ชื่อทีม "ลูกพระบิดา" ของของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาอย่างต่อเนื่อง ไม่ต่ำกว่า 10 ปี จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศในปี 2566 ที่ผ่านมา
โดยเข้ารับพระราชทานรางวัล จาก ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ่านเพิ่มเติมคำสดุดีเกียรติคุณและข้อเขียนเกี่ยวกับรางวัลนี้ของอาจารย์ได้ที่หอประวัติ
นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับรางวัลในการแข่งขัน Capture The Flag (CTF) ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านความปลอดภัยเชิงข้อมูลที่มีกิจกรรมท้าทายให้แก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การค้นหาข้อมูลจากเว็บ การขโมยข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อหาชิ้นส่วนข้อมูลจากเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์ การแข่งขันนี้จัดขึ้นในงาน PSU Cyber Security and Data Privacy Day โดย CISCO Thailand ร่วมกับสำนักนวัตกรรมดิจิทัลและระบบอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ลักษณะกิจกรรม
Session : Cisco CTF Workshop จัดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. จำนวน 120 ที่นั่ง
Workshop: ในรูปแบบการแข่งขัน Capture the Flag โดย CISCO ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติการทำงานทั้งแบบ Red Team และ Blue Team โดย Lab Online จาก CISCO และร่วมลุ้นรางวัลจากการแข่งขันเก็บคะแนนชิงรางวัลการแข่งขันกำหนดการ
ผลการแข่งขัน
อันดับที่ | นามแฝง | รหัสนักศึกษา | ชื่อ-สกุล | สาขาวิชา | ชั้นปีที่ | |
1 | SirawitTH | 6710110443 | นาย สิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์ | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 1 | |
2 | Lord_Solar | 6510110344 | นาย ภัทรพล ศรีเปารยะ | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | |
3 | Bourbon | 6510110202 | นาย ธรากร ชลายนคุปต์ | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | |
4 | torty | |||||
5 | root | |||||
6 | sola | 6510110119 | นาย โซล่า ไพบูลย์สมบัติ | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | |
7 | DiscoBoi | 6510110124 | นาย ณภัทร จันทร์เมือง | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | |
8 | Hacker_01 | 6510110218 | นาย นพเก้า ปัญจสุธารส | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 3 | |
9 | Jackychan | 6710110428 | นาย สรวิศ สุขการณ์ | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 1 | |
10 | bubble |
ดูผลการแข่งขันได้ที่นี่
รางวัลที่ 1 SirawitTH นายสิรวิชญ์ ลอยวิรัตน์

บรรยากาศงาน




ในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ผู้บริหารจากคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ ของ Univertitas Pembanggunan Nasional "Veteran" JawaTimur ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งประกอบด้วย Assoc. Prof. Dr. Basuki Rahmat, Vice Dean of Student Affairs and Cooperation และ Dr. Ir. I Gede SusramaMas Diyasa, Vice Dean of Teaching and Academic Affairs ได้เยี่ยมชม หารือความร่วมมือกับ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยมี รศ.ดร. พิชญา ตัณฑัยย์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดร.อนันท์ ชกสุริวงศ์ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ รศ.ดร. ปัญญยศ ไชยกาฬ ประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ โดยความร่วมมือจะเริ่มจากการจัดสัมมนาวิชาการ การทำงานวิจัยที่สนใจร่วมกัน และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและคณาจารย์
Assoc. Prof. Dr. Keck Voon Ling ซึ่งเป็น Visiting Professor จาก Nanyang Technological University (NTU) ประเทศสิงคโปร์ สอนนักศึกษาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ชั้นปีที่ 2 เกี่ยวกับ ระบบควบคุม (Control System) ทั้งแบบบรรยาย (ทฤษฎี) และปฏิบัติการ เป็นจำนวนรวม 12 ชั่วโมง ใน 241-251 ชุดวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการควบคุมหุ่นยนต์ ที่สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในระหว่างวันที่ 24-27 มิถุนายน พ.ศ. 2567