pichaya

นายกริสนันต์ อามะ รหัสนักศึกษา 6310110011 นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้รับรางวัลรองดีเด่นอันดับ 1 ประเภทนักศึกษา CWIE ที่มีโครงงาน/ผลการปฏิบัติงานด้านนวัตกรรมดีเด่นระดับชาติประจำปี พ.ศ. 2568 จากกระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชรินทร์ แก้วอภิชัย
ชื่อโครงงาน: 3D Creator for the Blind
สถานประกอบการออกปฏิบัติงาน: บริษัท พีเอสยูดอลพินส์ จำกัด
กระทรวงอุดมศึกษา วิทนาศ่สตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมสหกิจศึกษาไทยและเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (เครือข่าย CWIE) ภาคเหนือตอนบน เป็นเจ้าภาพจัดงานวันสหกิจศึกษาบูรณาการกับการทำงาน (CWIE Day) ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2568 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ โรงแรมเชียงใหม่แมริออท จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนแนวคิด การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและยกย่องเชิดชูผลงานต้นแบบจากสถาบันต่าง ๆ ที่มีบทบาทโดดเด่นในการขับเคลื่อน CWIE สู่ความสำเร็จระดับชาติ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "CWIE for Empowering People in the AI Era : CWIE เสริมพลังคนรุ่นใหม่ในยุค AI ก้าวไกลสู่อนาคต"
ลิงค์วิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=sVbxKOP6kbI

นางสาวพิชาภัทร แซ่หลี รหัสนักศึกษา 6510110315 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษา Canada-ASEAN Scholarships and Educational Exchanges for Development (SEED) เพื่อสนับสนุนการทำวิจัยระยะสั้น ณ Brock University ประเทศแคนาดา ตั้งแต่เดือนกันยายน - ธันวาคม 2568
ทีม Nameless จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ผ่านเข้าสู่รอบ Showcase ของงานประกวดแข่งขัน Thailand Game Talent Showcase 2025 เป็น 1 ใน 20 ทีม ซึ่งประกอบไปด้วย ระดับมัธยมศึกษา 3 ทีม และ ระดับอุดมศึกษา 17 ทีม ที่ได้รับคัดเลือกจากจำนวนทีมที่สมัครทั้งหมดเกือบ 100 ทีมจากทั่วประเทศ
โครงการ Thailand Game Talent Showcase 2025 จัดโดย สมาคมอุตสาหกรรมซอฟ์ตแวร์เกมไทย (www.tga.in.th)
ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการแสดงผลงานจริง ในงาน Gamescom Asia x Thailand Gameshow ระหว่างวันที่ 16–19 ตุลาคม 2568 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สมาชิกทีม Nameless
1. นายภาสวุฒิ ดวงแก้ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2. นายธนภัทร ปานมาส หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3. นายเกียรติศักดิ์ แซ่อิ๋ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ผศ.ดร.กฤษณ์วรา รัตนโอภาส
ตัวอย่างเกม
ดู Walk-through Video ของผลงานของทีมได้ที่ Nameless
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จัดกิจกรรมนำนักศึกษาและคณาจารย์ไปทัศนศึกษา ดูงาน AsiaTech 2025, Singapore Expo ณ ประเทศสิงคโปร์ ในระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568
ข้อมูลกิจกรรม
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 47 คน ประกอบด้วย
- อาจารย์ 4 คน
- นักศึกษาระดับปริญญาเอก 1 คน ระดับปริญญาโท 1 คน
- นักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ รวม 41 คน
ทั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากหมวดทัศนศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 1.1 ของ คณะวิศวกรรมศาสตร์
กำหนดการ
27 มิถุนายน 2568 ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยรถบัส VIP 24 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน
28-29 มิถุนายน 2568 เดินทางไปทัศนศึกษาและดูงาน AsiaTech 2025 ซึ่งประกอบไปด้วยนิทรรศการ งานแสดงสินค้า และงานสัมมนาทางด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ ที่ ณ Singapore Expo
และเดินทางไปยังจุดท่องเที่ยว Merlion และ Gardens by the Bay
30 มิถุนายน 2568 กลับถึงมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยรถบัส
Participants
Asia Tech
Free Times (Changi Airport, Merlion, Marina Bay, Gardens by the Bay)
ดูวิดีโอตัวอย่างประสบการณ์ได้ที่นี่
ทีม Ultimate PUPA x AI นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จ.สงขลา เข้าร่วมงานอบรมเชิงปฏิบัติการ และคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง จากกิจกรรม AI Hackathon: AI Workflow Automation for Tourism Business ในงาน AI for Next Gen - พลิกโฉมท่องเที่ยวยุคใหม่ด้วย AI ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท
สมาชิกทีม Ultimate PUPA x AI
-
นายเจษฎา ธาวุฒิสกุล รหัสนักศึกษา 6610110050 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
-
นายชวินธร ชื่นชม รหัสนักศึกษา 6610110724 หลักสูตรวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์
-
นายปรเมษ แก้วอุบล รหัสนักศึกษา 6610110554 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
- นายวิลดาน ผิดไรงาม รหัสนักศึกษา 6610110279 หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมในงาน
Hackathon Competition
เป้าหมาย:
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้าง Web site ที่สามารถใช้ประโยชน์ใน “ธุรกิจการท่องเที่ยว” ด้านใดก็ได้ โดยใช้ platform ที่สามารถ Prompt โดยใช้ภาษาธรรมชาติ เช่น
ข้อกำหนด:
- website ที่สร้างขึ้น จะต้องมีการเชื่อมต่อกับ ระบบ Workflow automation (Make.com) ไม่อนุญาตให้ใช้ n8n
- การเชื่อมโยง Module ใน Make.com จะเชื่อมโยง กี่ module ก็ได้
- ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อ website, การใช้ module ใน Make.com จะต้องเป็น Free module หรือ Free tier เท่านั้น
- แม้ว่า บาง Service จะต้องจ่ายเงิน แต่หากมี Free Tier ให้ใช้ (ใช้ฟรี) อนุญาตให้ใช้งานได้ (โดยไม่ต้องจ่ายเงิน) เช่น DumplingAI.com
เกณฑ์การตัดสิน:
- สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ 30%
- ความซับซ้อนในการพัฒนา 20%
- ความสวยงามและใช้งานง่าย 20%
- วิธีการนำเสนอและตอบคำถาม 30%
ผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์อิสระ (Independent Software Vendor: ISV) คือองค์กรที่สร้างและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่เป็นอิสระจากฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการพื้นฐาน โซลูชันซอฟต์แวร์โดยทั่วไปจะแก้ไขปัญหาเฉพาะของลูกค้า เช่น การสร้างและจัดการข้อมูลการขายหรือทางการเงิน นอกจากนี้ ยังอาจเป็นซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการจัดเก็บข้อมูล ความปลอดภัย หรือการรับรองความถูกต้อง ผู้จำหน่ายรับประกันความเข้ากันได้ของซอฟต์แวร์กับแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงฐานลูกค้าที่กว้างขวาง
ISV ขายซอฟต์แวร์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาตถาวร ข้อตกลงระยะเวลา หรือ Software as a Service (SaaS) ซอฟต์แวร์ได้รับอนุญาตให้แก่ลูกค้า แต่สิทธิ์ความเป็นเจ้าของยังคงเป็นของ ISV ซอฟต์แวร์มีความทั่วไปเพียงพอที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ได้ในโดเมน อุตสาหกรรม และแพลตฟอร์มที่หลากหลาย ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ ISV ได้แก่ โซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบบการจองโซลูชันการรวมข้อมูล และอื่นๆ
- รศ.ดร.อซีส นันทอมรพงศ์ คณบดีวิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มอ.วิทยาเขตภูเก็ต
- นายรังสิมันตุ์ กิ่งแก้ว ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
- นายประชา อัศวธีระ ผู้อำนวยการเขตพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล DEPA
- Assistant Professor Justin Paulsen มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล
- นายพูลศิริ วงศ์วิเศษกิจ Senior ISV Account Manager บริษัทอะเมซอน เว็บ เซอร์วิส
- นายวีระเชฏฐ์ ไวทยานุวัตติ Manager, Cyber Security, Bangkok Airways
- คุณกนกวรรณ บุญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฯ บริษัท ไทย ดิจิทัล แพลตฟอร์ม วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด
- ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล และประธานหลักสูตร AI and System Engineering (AISE) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต








คณะครูและนักเรียน IDN Boarding School ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายชั้นนำจากประเทศอินโดนีเซีย มุ่งเน้นด้านการศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) จำนวน 77 คน เยี่ยมชมสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์๋ วันพฤหัสที่ 22 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2568
ทางสาขาวิชาฯ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสบรรยากาศการเรียนรู้และสิ่งอำนวยความสะดวกของสาขาวิชาฯ อย่างใกล้ชิด
รศ.ดร.แสงสุรีย์ วสุพงศ์อัยยะ อาจารย์สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และผู้อำนวยการศูนย์วิศวกรรมความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากร หัวข้อ Digital Transformation Ethical and Security Issues ในการประชุมสามัญประจำปี พ.ศ. 2568 ของ สมาคมนวัตกรรมการพยาบาลและสุขภาพ หรือ Nursing Innovation and Health Association (NIHA) โดยจัดขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 เวลา 11.00-12.00 น. ผ่านการประชุมซูมออนไลน์